TOEIC คืออะไร
- TOEIC (The Test of English for International Communication) ถูกพัฒนาขึ้นมาในปี 1979 โดย Educational Testing Service? (ETS?) ซึ่งตั้งอยู่ที่ Princeton, นิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา
- Toeic เป็นแบบทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษ สำหรับประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ซึ่งเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษสากลที่มีสถิติของการใช้ในการสมัครงานมากที่สุดแบบหนึ่งของโลก ทั้งนี้ เนื่องมาจาก การสอบ TOEIC เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถ ตั้งแต่ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ ในระดับเริ่มต้น จนถึงผู้ที่ใช้ ภาษาอังกฤษได้ในระดับใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา นอกจากนี้ ยังได้รับการยอมรับในการเป็นแบบทดสอบมาตรฐาน เช่นเดียวกับแบบทดสอบอื่นๆ เช่น TOEFL, SAT, GMAT
- สำหรับเนื้อหาของการสอบ TOEIC จะเน้นที่ทักษะการฟัง (listening) และการอ่าน (reading) เป็นหลัก คะแนนที่ได้รับจากการสอบนั้นส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการสมัครงานสายการบิน งานโรงแรม การในสายบริการต่างๆ ในระดับนานาชาติ หรืองานออฟฟิสของบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งต้องการพนักงานที่มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
ประเภทของการสอบ
- Classic TOEIC Test Administration
- Redesigned TOEIC Test Administration (เริ่มใช้เดือนเมษายน 2551)
1. Classic TOEIC
- ข้อสอบ Classic TOEIC จะประกอบด้วยคำถาม 200 ข้อ แบ่งเป็นข้อสอบทางด้านการฟัง 100 ข้อ (ฟังจากเทปที่อัดไว้) และการอ่าน 100 ข้อ ระยะเวลาในการทดสอบประมาณ 2 ชั่วโมงถึง 2 ชั่วโมงครึ่งขึ้นอยู่กับการสอบแต่ละครั้ง
รายละเอียด
Section 1 ส่วนของการฟัง
- Part I : Photographs 20 Questions (รูปภาพ 20 ข้อ)
- Part II : Question – Response 30 Questions (ถาม-ตอบ 30 ข้อ)
- Part III : Short Conversations 30 Questions (บทสนทนาสั้นๆ 30 ข้อ)
- Part IV : Short Talks 20 Questions (บทพูดคุยสั้น ๆ 20 ข้อ)
Section 2 ส่วนของการอ่าน
- Part V : Incomplete Sentences 40 Questions (ไวยากรณ์ Grammar 40 ข้อ)
- Part VI : Error Recognition 20 Questions (วิเคราะห์ส่วนที่ผิดในประโยค 20 ข้อ)
- Part VII : Reading Comprehensive 40 Questions (การอ่านเพื่อจับใจความ 40 ข้อ)
ผลคะแนน
สำหรับการคิดคะแนนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- ส่วนของการฟัง 5-495 คะแนน
- ส่วนของการอ่าน 5-495 คะแนน
คะแนนเต็ม 990 คะแนน ซึ่งผลคะแนนที่ได้รับจะมีอายุการใช้งานได้ 2 ปีนับจากวันที่สอบ
ขอขอบคุณ : http://www.educatepark.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น