วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

TOEIC

TOEIC คืออะไร
  • TOEIC (The Test of English for International Communication) ถูกพัฒนาขึ้นมาในปี 1979 โดย Educational Testing Service? (ETS?) ซึ่งตั้งอยู่ที่ Princeton, นิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา
  • Toeic เป็นแบบทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษ สำหรับประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ซึ่งเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษสากลที่มีสถิติของการใช้ในการสมัครงานมากที่สุดแบบหนึ่งของโลก ทั้งนี้ เนื่องมาจาก การสอบ TOEIC เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถ ตั้งแต่ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ ในระดับเริ่มต้น จนถึงผู้ที่ใช้ ภาษาอังกฤษได้ในระดับใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา นอกจากนี้ ยังได้รับการยอมรับในการเป็นแบบทดสอบมาตรฐาน เช่นเดียวกับแบบทดสอบอื่นๆ เช่น TOEFL, SAT, GMAT
  • สำหรับเนื้อหาของการสอบ TOEIC จะเน้นที่ทักษะการฟัง (listening) และการอ่าน (reading) เป็นหลัก คะแนนที่ได้รับจากการสอบนั้นส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการสมัครงานสายการบิน งานโรงแรม การในสายบริการต่างๆ ในระดับนานาชาติ หรืองานออฟฟิสของบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งต้องการพนักงานที่มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
ประเภทของการสอบ
  1. Classic TOEIC Test Administration
  2. Redesigned TOEIC Test Administration (เริ่มใช้เดือนเมษายน 2551)
1. Classic TOEIC
  • ข้อสอบ Classic TOEIC จะประกอบด้วยคำถาม 200 ข้อ แบ่งเป็นข้อสอบทางด้านการฟัง 100 ข้อ (ฟังจากเทปที่อัดไว้) และการอ่าน 100 ข้อ ระยะเวลาในการทดสอบประมาณ 2 ชั่วโมงถึง 2 ชั่วโมงครึ่งขึ้นอยู่กับการสอบแต่ละครั้ง
รายละเอียด
Section 1 ส่วนของการฟัง
  • Part I : Photographs 20 Questions (รูปภาพ 20 ข้อ)
  • Part II : Question – Response 30 Questions (ถาม-ตอบ 30 ข้อ)
  • Part III : Short Conversations 30 Questions (บทสนทนาสั้นๆ 30 ข้อ)
  • Part IV : Short Talks 20 Questions (บทพูดคุยสั้น ๆ 20 ข้อ)
Section 2 ส่วนของการอ่าน
  • Part V : Incomplete Sentences 40 Questions (ไวยากรณ์ Grammar 40 ข้อ)
  • Part VI : Error Recognition 20 Questions (วิเคราะห์ส่วนที่ผิดในประโยค 20 ข้อ)
  • Part VII : Reading Comprehensive 40 Questions (การอ่านเพื่อจับใจความ 40 ข้อ)
ผลคะแนน
สำหรับการคิดคะแนนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
  • ส่วนของการฟัง 5-495 คะแนน
  • ส่วนของการอ่าน 5-495 คะแนน
คะแนนเต็ม 990 คะแนน ซึ่งผลคะแนนที่ได้รับจะมีอายุการใช้งานได้ 2 ปีนับจากวันที่สอบ
ขอขอบคุณ : http://www.educatepark.com/

การเตรียมตัวสอบ TOEFL internet-based test (iBT)

สอบ TOEFL internet-based test (iBT)

สำหรับคนที่กำลังเตรียมตัวจะไปเรียนต่ออเมริกา ที่จำเป็นจะต้องใช้ผลคะแนน TOEFL ยื่น
ก่อนสอบควรจะมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปสอบ 
ลักษณะข้อสอบ
TOEFL ประกอบด้วยข้อสอบ 4 ส่วน เรียงตามลำดับการสอบ คือ Reading, Listening, Speaking, Writing
Reading
เป็นข้อสอบส่วนแรก ประกอบด้วยบทความ 3 – 5 บทความ (แล้วแต่ว่าจะเจอข้อสอบวิจัยในส่วนนี้หรือไม่ ถ้าไม่เจอ คือสอบแค่ 3 บทความ แต่ถ้าเจอก็ 5บทความ) แบ่งการสอบออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ส่วนแรกมี 1 บทความ ให้เวลา 20 นาที ส่วนที่ 2 มี 2 บทความ ให้เวลา 40 นาที ถ้ามีข้อสอบวิจัย จะมาเป็นส่วนที่ 3 มี 2 บทความ ให้เวลา 40 นาทีเหมือนส่วนที่ 2 รวมระยะเวลาในการสอบ reading 60 นาที (100 นาที ถ้ามีข้อสอบวิจัย)

ตัวบทความ เป็นบทความเชิงวิชาการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ตัวอย่างบทความที่เคยเจอ คือ ภูมิศาสตร์ (เรื่อง เปลือกโลก และแหล่งน้ำ) ดาราศาสตร์ (เรื่อง พระอาทิตย์ และต้นกำเนิดจักรวาล) ชีววิทยา (เรื่อง ไดโนเสาร์ และแมลงกินผลไม้) ประวัติศาสตร์ (เรื่อง การขนส่งในอเมริกายุคไอน้ำ) โบราณคดี จิตวิทยา วรรณกรรม 
สรุป มีทุกแนว และขึ้นอยู่กับดวง เราเรียนสายวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมตอนปริญญาตรี ได้ข้อสอบแนวดาราศาสตร์กับชีววิทยาเลยพอรอดตัวไปได้ ความยาวของบทความประมาณ 25 – 35 บรรทัด 5 – 6 ย่อหน้า ศัพท์ที่ใช้เป็นศัพท์ทั่วๆ ไป มีคำยากๆ หลงมาซึ่งจะใช้เป็นคำถามด้วย ย่อหน้าละ 3 - 5 คำ
ลักษณะคำถาม ได้แก่ ใจความสำคัญของเรื่อง การตีความ ความหมายของศัพท์ การใช้สรรพนามว่า refer ถึงอะไร การเรียบเรียงประโยคใหม่ให้คงความหมายเดิม การแทรกประโยคลงในที่ที่เหมาะสม เป็นต้น หนึ่งบทความจะมีคำถาม 12 – 14 คำถาม

คำตอบ เป็นแบบเลือกตอบทั้งหมด โดยมากข้อละ 1 คะแนน ยกเว้นข้อสุดท้าย ซึ่งถามใจความสำคัญทั้งหมดของบทความ มี 2 คะแนน ต้องเลือกตอบ 3 จาก 6 ตัวเลือกให้ถูกทั้งหมด

ข้อสอบที่มี 2 คะแนนอีกแบบ อยู่ในบทความส่วนที่ 2 มักจะมีตัวเลือกให้ 6 – 10 ตัวเลือก ลักษณะคล้ายๆ ข้อสอบ Matching ต้องเลือกตอบให้ถูกทั้งหมดเช่นกัน ผิดแค่ตัวเลือกเดียวจะไม่ได้คะแนนเลย

Tips สำหรับ Reading 
1. ฝึกทำข้อสอบโดยการจับเวลา 
2. เวลาทำข้อสอบ ให้ข้ามไปอ่านคำถามก่อน แล้วมาหาคำตอบจากบทความ ซึ่งในคอมพิวเตอร์จะแสดงอยู่ข้างๆ คำถามเลย เพราะข้อสอบจะเรียงตามเนื้อหาของบทความ ซึ่งแต่ละย่อหน้าจะมีคำถาม 1 – 3 คำถาม ใช้วิธีนี้จะทำข้อสอบได้เร็วกว่าการอ่านบทความก่อนแล้วไปตอบทีละข้อ


Listening
ประกอบด้วยข้อสอบ 2 ส่วนใหญ่ๆ (3 ส่วน ถ้าเจอข้อสอบวิจัยในส่วนนี้) แต่ละส่วนจะมีบทสนทนา 1 บท การบรรยายหรือเลกเชอร์ที่อาจารย์บรรยายอย่างเดียว 1 เลกเชอร์ และเลกเชอร์ที่อาจารย์กับนักเรียนมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน 1 เลกเชอร์ ระยะเวลาในแต่ละส่วนประมาณ 30 นาที รวมระยะเวลาสอบทั้งหมด 60 นาที (90 นาทีถ้ามีข้อสอบวิจัย)
บทสนทนา มักจะเป็นบทสนทนาระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง ระหว่างนักเรียนกับเจ้าหน้ามหาวิทยาลัย หรือนักเรียนกับอาจารย์ มีคำถาม 5 – 6 ข้อ 
คำถามในส่วนนี้ไม่ค่อยมีคำถามประเภทท่องจำ ส่วนใหญ่จะเป็นคำถามที่วัดความเข้าใจในบทสนทนาของผู้สอบ และอาจจะมีคำถามเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของคนในบทสนทนานั้นๆ ด้วย
การบรรยายทั้งสองตัว ไม่ค่อยต่างกันมากนัก และคำถามในส่วนนี้ มีคำถามวัดความจำบ้างแต่ไม่ละเอียดหรือลงลึกเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะเป็นคำถามที่วัดความเข้าใจในบทเรียน และการตีความคำพูดหรือปฏิกิริยาของอาจารย์/นักเรียนในห้องเรียนมากกว่า

คะแนนของคำถามแต่ละข้อ โดยมากเป็นแบบ 1 คะแนน สำหรับคำถามข้อที่มี 2 คะแนนแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบให้เลือกตอบมากกว่า 1 คำตอบ และแบบให้กาข้อถูกในตาราง ซึ่งต้องตอบถูกต้องทั้งหมดจึงจะได้คะแนน
Tips สำหรับ Listening 
1. ฝึกทำข้อสอบโดยการจับเวลา 
2. ตั้งใจฟังให้มากที่สุด อย่าจดทุกอย่างที่ได้ยิน ให้จดเฉพาะที่สำคัญจริงๆ เท่านั้น เพราะการฟังไปจดไปจะเป็นการแบ่งสมาธิของเราเอง เมื่อเริ่มจดจริงจัง จะทำให้ฟังไม่ทันและอาจจะพลาดส่วนที่สำคัญไป

Speaking
มีทั้งหมด 6 คำถาม โดยเป็น Independent task 2 คำถาม และ Integrated task 4 คำถาม ดังนี้

ข้อ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องรอบๆ ตัว เช่น ให้อธิบายคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ โดยให้เวลาเตรียมตัว 15 วินาที และเวลาตอบ 45 วินาที

ข้อ 2 เป็นคำถามให้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องรอบๆ ตัว เช่น ให้เลือกระหว่างการอ่านหนังสือพิมพ์กับการดูข่าวโทรทัศน์พร้อมเหตุผลประกอบ โดยให้เวลาเตรียมตัว 15 วินาที และเวลาตอบ 45 วินาที

ข้อ 3 เป็นข้อสอบที่ใช้ทักษะการอ่านและการฟัง โดยให้เวลาอ่านเรื่อง 45 วินาที (ต้องทำโน้ตย่อ เพราะ text จะไม่กลับมาอีก) และฟังบทสนทนาสั้นๆ (ทำโน้ตย่อด้วย) คำถามจะเกี่ยวกับความเห็นของผู้พูดคนใดคนหนึ่งจากบทสนทนา โดยให้เวลาเตรียมตัว 30 วินาที และเวลาตอบ 60 วินาที

ข้อ 4 เป็นข้อสอบที่ใช้ทักษะการอ่านและการฟัง โดยให้เวลาอ่านเรื่อง 45 วินาที (ต้องทำโน้ตย่อ เพราะ text จะไม่กลับมาอีก) และฟังการบรรยายสั้นๆ (ทำโน้ตย่อด้วย) คำถามจะให้บรรยายเกี่ยวกับข้อมูลจากทั้งบทความและการบรรยาย โดยให้เวลาเตรียมตัว 30 วินาที และเวลาตอบ 60 วินาที

ข้อ 5 เป็นข้อสอบที่ใช้ทักษะการฟังเพียงอย่างเดียว โดยเป็นบทสนทนาระหว่างนักเรียนกับเพื่อน หรืออาจารย์ ซึ่งจะพูดถึงปัญหาและวิธีที่ผู้พูดคิดว่าจะใช้ในการแก้ปัญหา 2 วิธี คำถามจะให้บรรยายถึงปัญหา วิธีการแก้ไขทั้งสองแบบ ทางเลือกที่ผู้พูดเลือก พร้อมเหตุผลประกอบ โดยให้เวลาเตรียมตัว 20 วินาที และเวลาตอบ 60 วินาที

ข้อ 6 เป็นข้อสอบที่ใช้ทักษะการฟังเพียงอย่างเดียว โดยเป็นการบรรยายในห้องเรียน ซึ่งจะพูดถึงเนื้อหาที่เรียนและตัวอย่าง/แนวทางในการเรียนการสอน คำถามจะให้บรรยายถึงใจความสำคัญของการบรรยาย และยกตัวอย่าง/ทางเลือกประกอบ โดยให้เวลาเตรียมตัว 20 วินาที และเวลาตอบ 60 วินาที
รวมระยะเวลาในการสอบทั้งหมด 20 นาที

Tips สำหรับ Speaking
1. ฝึกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการอัดเสียงของตัวเองเวลาตอบเอาไว้ แล้วเปิดฟังเพื่อปรับปรุงการพูด โดยระหว่างเตรียมและตอบให้จับเวลาด้วย เนื่องจากมีโอกาสสูงมากที่จะพูดเกิน หรือพูดน้อยไป
2. เวลาสอบจริง อย่าตกใจถ้าได้ยินเสียงแทรกจากรอบตัว สนใจแต่ข้อสอบเท่านั้น ไม่ต้องรีบพูด พูดช้าๆ ชัดๆ ให้ถูกต้อง

Writing
มีข้อสอบ 2 ข้อ 
ข้อแรกเป็น integrated task ให้เวลา 20 นาที ใช้ทักษะการอ่านและการฟัง โดยจะมี text ให้อ่านภายในระยะเวลา 3 นาที และฟังบรรยายสั้นๆ ซึ่งเป็นหัวข้อเดียวกันกับ text แต่จะมีความเห็นคนละแบบ (ส่วนมากถ้า text บอกว่าเชื่อถือได้ บทบรรยายจะหาเหตุผลมาหักล้าง) หลังจากฟังจบ text จะกลับมา และให้เราเริ่มเขียนได้ ความยาวของคำตอบควรอยู่ระหว่าง 150 – 225 คำ

ข้อที่สองเป็น independent task ให้เวลา 30 นาที เป็นการแสดงความเห็นและประสบการณ์ส่วนตัว โดยมากคำถามจะให้มาสองทางเลือก (เช่น เห็นด้วยหรือไม่) เราเขียนตอบโดยเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง พร้อมยกเหตุผลประกอบ ความยาวของคำตอบควรอยู่ระหว่าง 300 – 350 คำ
รวมระยะเวลาในการสอบ 50 นาที

Tips สำหรับ Writing
1. ไม่ต้องใช้ tense ฟุ่มเฟือย แค่ Present Simple tense, Past Simple tense และ Present Perfect tense ก็พอแล้ว 
2. การทำข้อสอบข้อแรกในส่วนของการอ่าน text ไม่ต้องจดประเด็นครบ (เพราะ text จะกลับมาอีก) แต่ให้จดประเด็นใหญ่ๆที่คิดว่าจะโดนหักล้างแน่ๆ ไว้ เว้นที่ข้างๆ แต่ละประเด็นสำหรับเขียนประเด็นหักล้างในส่วนของบทบรรยาย วิธีนี้จะทำให้ไม่งงเวลาเขียนตอบและไม่เสียเวลาเรียบเรียงความคิดใหม่ด้วย
3. การทำข้อสอบข้อหลัง ต้องเลือกทางเลือกให้ชัดเจน เช่นถ้าโจทย์ถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ ต้องตอบทางใดทางหนึ่ง อย่าตอบคลุมเครือ เหตุผลที่ยกมาประกอบควรมีไม่ต่ำกว่า 3 ข้อ และต้องเป็นเหตุผลที่หนักแน่น เชื่อถือได้ 
4. อย่าเขียนเกินจำนวนคำที่กำหนด เยอะไปไม่ดี

ขอขอบคุณ : http://www.hotcourses.in.th/study-abroad-info/essentials/toefl-test/ 


ช่อง Youtube สอนภาษาอังกฤษ เรียนได้ทุกวัน


AJ Adam

 Youtube: https://www.youtube.com/user/jadambrad



TalkAmerican By MsLingLingOfficial

 Youtube: https://www.youtube.com/user/mslinglingofficial


BBC Learning English

Youtube: https://www.youtube.com/user/bbclearningenglish/videos


Rachel's English




ขอขอบคุณ : http://pantip.com/topic/34191972


แอพพลิเคชัน ฟรี ฝึกภาษาอังกฤษได้ทุกวัน


Johnny Grammar’s word Challenge

ใช้เกมเป็นสื่อในการเรียนรู้ เรียนสนุก สามารถฝึกแกรมม่า คำศัพท์ และการสะกดคำภาษาอังกฤษ


LearnEnglish Grammar UK Edition | US Edition


เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเน้นแกรมม่า จัดทำโดย Britsih Council 
มีทั้งเวอร์ชั่น British(UK) และ American (USA)

Learn American English – Free word power




บทเรียนจะถูกแบ่งเป็น level การเรียนจะเป็นแนว อ่าน ฟัง พูด  สามารถ ฟัง และอัดเสียงพูดตามเป็นการฝึกพูดได้
จะกดฟังที่พูดก็ได้ หลังจากนั้นจะมีรูปภาพประกอบ และประโยคตัวอย่าง

American English


แอพที่สร้างโดยรัฐบาลของอเมริกา มีแค่ระบบ Android
มี E-books, Audiobooks, เพลง, เกมส์, ข่าว และอื่นที่ช่วยในการเรียนภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน


เครดิต ขอขอบคุณ :  
http://www.talk-american.com/10-apps-to-learn-english/

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความสำคัญของเทคโนโลยี

ความสำคัญของเทคโนโลยี

1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 

2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา 

3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ 

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้าง    
 นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่
ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจสังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกที่เรียบ
ง่ายกลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้น  ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน  ที่เข้า                          
มาสู่ทุกประเทศอย่างรวดเร็วจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์                      
เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอนิกส์ โทรคมนาคม และข่าวสาร ( ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสาร                    
กันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว  สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง  ๆ ได้พร้อมกัน สามารถ                  
บริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว                        

ดังนั้นเทคโนโลยีกำลังทำโลกใบนี้ เล็กลงทุกขณะ

ซอฟแวร์ที่ใช้งานออกแบบ3มิติ

ซอฟแวร์ที่ใช้งานออกแบบ3มิติ

Google SketchUp
ดาวน์โหลด Google SketchUp โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างแบบจำลอง 3 มิติ สร้างโมเดลบ้าน ออกแบบประตู หน้าต่าง ออกแบบรถ ออกแบบตัวละคร วาดการ์ตูน ได้ทุกอย่าง ใช้ง่ายมาก 




SketchUp Make
ดาวน์โหลดโปรแกรม SketchUp Make ทำแบบบ้าน ออกแบบห้อง ออกแบบโมเดล 3 มิติ ต่างๆ ได้ง่ายๆ มีคลิปสอนวิธีการใช้งาน และ วิธีการให้ลองทำตาม อย่างละเอียด



ZWCAD
โปรแกรมเขียนแบบ ZWCAD สำหรับ นักออกแบบมืออาชีพ มีคุณสมบัติเหมือน โปรแกรมเขียนแบบ AutoCAD แต่ราคาถูกกว่ามาก เปิดไฟล์ DWG ไฟล์ DXF และ ไฟล์ DWF ได้ 








ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ2มิติ

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ2มิติ

LibreCAD (โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมวาดแบบ 2 มิติ) 
ดาวน์โหลดโปรแกรม LibreCAD โปรแกรมออกแบบ วัตถุ 2 มิติ (2D) หรือเรียกว่า โปรแกรมวาดแบบ ก็ได้ ใช้ออกแบบวัตถุต่างๆ ออกแบบเสื้อ ออกแบบบ้าน วัตถุต่างๆ


QCad
โปรแกรมออกแบบ ประเภท CAD 2 มิติ แจกฟรี QCad ขนาดเล็ก สามารถใช้ออกแบบได้หลากหลาย หลายรูปทรง วาดรูป ลากเล้น โค้งเว้า ออกแบบร่างต่างๆ มีรูปแบบตัวอักษรมากกว่า 30 แบบ

 
BricsCAD
โปรแกรมเขียนแบบ BricsCAD มีความสามารถทำงานพื้นฐานเหมือนโปรแกรม AutoCAD (ออโต้แคด) เปิดไฟล์ DWG ได้แถมยังมีฟังก์ชั่นพิเศษที่สามารถทำงานได้เหนือกว่า และมีประสิทธิภาพสูง